นายบุญมา ป๋งมา ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (สร.ขสมก.) เปิดเผยว่าสหภาพแรงงานฯ ได้สรุปความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมโครงการเสวนาเชิงวิชาการกับสื่อมวลชน เรื่องมุมมองสื่อมวลชนอยากให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)เป็นรัฐสวัสดิการหรือรัฐวิสาหกิจที่แสวงหาผลกำไร จัดขึ้นที่ จ.นครนายก เมื่อวันที่ 23-24 ก.ค.65 และผู้ฟังผู้ชมผ่านทางเฟซบุ๊ก พบว่า เห็นควรให้ ขสมก. เป็นรัฐสวัสดิการ เพื่อดูแลสวัสดิการให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย ในยามที่เศรษฐกิจย่ำแย่ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยสะท้อนปัญหาและข้อเสนอแนะ 5 ข้อ ดังนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
1.ในการเสวนาเมื่อวันที่ 23 ก.ค.65 ได้รับการแจ้งจากภาคประชาชนว่า ได้เคยรอรถเป็นเวลานาน ไม่สามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากพนักงานเราขาดแคลนเป็นจำนวน 1,600 คน คือ พนักงานขับรถ 800 คน พนักงานเก็บค่าโดยสาร 800 คน จึงต้องการให้ทาง ขสมก. เปิดรับสมัครพนักงาน โดยเร่งด่วน เพื่อทดแทนพนักงานในอัตราที่ขาด ทั้งนี้ ขสมกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. มีรถประจำการจำนวน 2,885 คัน ซึ่งเพียงพอกับการให้บริการ ถ้าจำนวนพนักงานมีเพียงพอ
นายบุญมา กล่าวต่อว่า 2.ผู้ร่วมเสวนากล่าวถึงการวางแผนปฏิรูปจำนวนรถโดยสาร ที่กล่าวถึงมาเป็นเวลานาน เมื่อปี 2558 แต่ยังไม่สามารถดำเนินการอย่างเร่งด่วน กล่าวคือ รถ 3,000 คัน ที่จะได้มาจะต้องมีรถโดยสารธรรมดา (รถเมล์ร้อน) สีครีมแดงอย่างน้อย 1,200 คัน หรือ 1,000 คัน เป็นอย่างต่ำ จากนั้นค่อยปรับเปลี่ยนเป็นรถโดยสารปรับอากาศ (รถเมล์แอร์) เพื่อยึดหลักให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย จึงสรุปได้ว่า ขสมก. อาจจะต้องได้รับการจัดหารถมาทดแทนปีละ 300 คัน ในระยะแผน 10 ปี รวมเป็นจำนวน 3,000 คัน อย่างเร่งด่วน
3.จากการเสวนา ผู้เข้าร่วมเสวนาได้เสนอให้มีการปฏิรูปเส้นทางเดินรถของขนส่งมวลชนกรุงเทพ จากเดิมที่มีการเดินรถอยู่ จำนวน 202 เส้นทาง เป้าหมายให้เป็น จำนวน 269 เส้นทางหลัก ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายใน 5 จังหวัด 4.จากปัญหาที่เกิดขึ้นของภาคประชาชน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารงานขององค์กร เรื่องแผนการเดินรถและเส้นทางต่างๆ ขอให้สหภาพแรงงานฯ และ ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
นายบุญมา กล่าวอีกว่าและ 5.จากที่ผู้เสวนาได้มีการกล่าวถึงการได้รับสัมปทานของบริษัทยักษ์ใหญ่ ทำให้เกิดความเดือดร้อนต่างๆ ทั้งภาคประชาชน และหน่วยงาน ขสมก. ได้เกิดข้อสงสัยว่า ผู้บริหารระดับสูงของ ขสมก. ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้หรือไม่ จึงเสนอให้มีการตรวจสอบทุจริตอย่างจริงจังและโปร่งใส โดยมีสหภาพแรงงานฯ และภาคประชาชน ร่วมกันตรวจสอบ